เหรียญอาร์มหลวงปู่ทวดแจกทหารใต้วัดแคสมเด็จลพ.กึ๋นวัดดอน๒๔๘๙พระพิชิตมารลพ.คงวังสรรพรส

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,428
    ค่าพลัง:
    +21,416
    1342479-52e66.jpg o9.jpg
    พระสมเด็จประภามณฑล หลังยันต์ หลวงพ่อกึ๋นวัดดอน ยานนาวา พศ.2489(ปลุกเสกพิธี25พศว.) พิธีใหญ่ สุดยอดเกจิแห่งยุคปลุกเสก
    รายละเอียด พระสมเด็จลพ.กึ๋น วัดดอน ยานนาวา กทม.
    พ.ศ.2489 มวลสารสมเด็จวัดระฆัง,ผงตะไบกริ่งฟ้าผ่า”
    พระผงหลวงพ่อกึ๋น วัดดอน กทม.!! สร้างปีพ.ศ.2489 ปลุกเสก 3วาระ ผสมผงตะไบกริ่งฟ้าผ่าปีพ.ศ.2479 และมวลสารเก่าสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งของสองสิ่งนี้นับว่าเป็นของวิเศษ !! ที่หาได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยวัตถุประสงค์การสร้างดี มวลสารวิเศษ พระเกจิผู้เรืองวิทยาคมชื่อดัง พิธีปลุกเสกสุดเข้มขลังหลายวาระ !!
    ครั้งแรก...จัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ด้วยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั่วประเทศในพระอุโบสถวัดดอนนาน3วัน
    ครั้งที่2...นำเข้าพิธีปลุกเสกพระ 25 พุทธศตวรรษ ปี พ.ศ.2500 ซึ่งมีพระเกจิชื่อดังมากมายทั่วประเทศถึง108 รูปอาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, หลวงพ่อลี วัดอโศการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองฯลฯ...!!
    ครั้งที่3…เมื่อหลวงพ่อกึ๋นมรณภาพลง ปี พ.ศ.2507 มีพระตกค้างอยู่ที่กุฏิท่านทางวัดจึงนำเข้าพิธีปลุกเสกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2516 พิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลวัดดอน รุ่นเสาร์5 ฤกษ์เสาร์ 5 ถึง 5 วัน 5 คืน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน จนไปถึงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2516 โดยมีพิธีกรรมแบบเดียวกับการสร้างเหรียญจักรเพชรวัดดอน คือมีพิธีพราหมณ์และพุทธควบคู่กัน โดยในครั้งนี้ !! ได้มีพระเกจิเรืองนามผู้ทรงวิทยาคมชื่อดังทั่วประเทศมาร่วมอธิษฐานจิตปลุก เสกมากมายอาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (ประธานในพิธี),หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช,พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน,หลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาศ, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์ โก่งธนู, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง, หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยานิมิตร ฯลฯ ซึ่งนับว่าเป็นมหาพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่เข้มขลังด้วยพุทธคุณสูง ยิ่ง...!!
    หลวง พ่อกึ๋น (พระครูกัลยาณวิสุทธิ์) ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งมากองค์หนึ่งถ้าที่ไหนมีงานพิธีปลุกเสกใหญ่จะ ต้องนิมนต์หลวงพ่อกึ๋นไปร่วมด้วยทุกที่ วัตถุมงคลที่โด่งดังของหลวงพ่อกึ๋นก็คือ “พระกริ่งฟ้าผ่า” เหตุที่เรียก พระกริ่งรุ่นนี้ว่า พระกริ่งฟ้าผ่า เพราะตอนพิธีเททองโดยขณะนั้นมี “สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) วัดสุทัศน์เทพวราราม” เป็นเจ้าประธานในพิธีก็ เกิดเหตุอัศจรรย์ “ฟ้าผ่า” ในพิธี แต่ไม่มีใครได้รับอันตราย จึงเรียกพระรุ่นนี้ว่า “กริ่งฟ้าผ่า” หลวง พ่อกึ๋น ท่านมีชาญรู้ล่วงหน้าว่าจะมีภัยสงคราม จึงสร้างพระกริ่งไว้แจกจ่ายเพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้คนโดยเฉพาะเหล่าบรรดา ลูกหลานทหารไทยที่ต้องไปออกศึกในช่วงสงครามอินโดจีน ซึ่งมีประสบการณ์รอดตายกลับมาจากผู้บูชาคล้องคอ ปัจจุบันบูชาหลักหลายหมื่นถึงแสนแล้ว !!
    ดังนั้น...“พระผงรุ่นนี้มีจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเหมือนพระกริ่งฟ้าผ่า” ด้วย วัตถุประสงค์การสร้างดี มวลสารวิเศษ พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าผู้เรืองวิทยาคม พิธีการปลุกเสกสุดเข้มขลัง และการนำมาทำพิธีปลุกเสกใหญ่เพิ่มอีกหลายวาระ ฉะนั้นพระผงหลวงพ่อกึ๋นรุ่นนี้จึงเป็นวัตถุมงคลยุคเก่าที่หาได้ยากยิ่งใน ปัจจุบัน !!
    รายนามพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยามนต์คุณวิเศษ ชุดพิเศษ
    เข้าพิธี ปลุกเสกงานมหาพิธีพุทธาภิเษก เสาร์ห้า 7-11 เมษายน 2516
    ณ มลฑลพิธี วัดดอนยานนาวา กทม.
    1. พระอาจารย์ท่านพ่อเจ้าคุณมงคลสภิต แห่งกรุงไพลิน พระตะบอง คณาจารย์เรืองนามทิศตะวันออก
    2. พระ อาจารย์สุดจินดา แห่งนครเชียงตุง อุดรทิศแห่งสยามประเทศ คณาจารย์ เรืองวิทยาทิศเหนือ
    3. พระอาจารย์ศิริรัตนาภรณ์ แห่งวัดนารานุสรณ์ ฝั่งแม่น้ำเมียวดี สุดเขตพุกามประเทศ คณาจารย์เรืองวิทยาทิศตะวันตก
    4. พระ อาจารย์สว่าง ผู้ทรงอาคมขลังแห่งจังหวัดสุรินทร์ คณาจารย์เรืองวิทยาทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ
    5. พระอาจารย์นิสัยจริยคุณ แห่งวัดจันเสน อ.ตาคลี นครสวรรค์
    คณาจารย์เรืองนามและวิทยาคมภาคกลาง พร้อมทั้งคณาจารย์ จากภาคต่าง ๆ อีก 59 รูป รายนามพระอาจารย์ นั่งบริกรรมในงานพิธีมหาพุทธาภิเษก
    1. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลี
    2. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    3. หลวงพ่อเนือง วัดจุฬามณี
    4. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    5. หลวงพ่อกี๋ วัด หูช้าง
    6. หลวงพ่อถิน วัดป่าเลไลย์
    7. หลวงพ่อรอด วัดประดู่พัฒนาราม
    8. หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก
    9. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
    10. พระญาณโพธิ วัดสุทัศน์เทพวนาราม
    11. พระศรีสัจจญาณมุนี วัดสุทัศน์เทพวนาราม
    12. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
    13. พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์เทพวราราม
    14. พระมงคลทิพยมุนี วัดพระเชตุพน
    15. พระปรมาจารย์ ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
    16. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม
    17. พระครูโสภณกัลยาวัตร วัดกัลยาณมิตร
    18. หลวงพ่อฉาย วัดศรีสาคร
    19. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน
    20. พระอาจารย์แสน วัดท่าแหน
    21. พระครูพรหมจักรสุนทร วัดธรรมจักร
    22. หลวงพ่อมิ วัดสิงห์
    23. หลวงพ่อทองอยู่ วัด ใหม่หนองพระองค์
    24. หลวงพ่อพรม วัดหนองคุณที
    25. พระครูสาทรพัฒนกิจ วัดเสด็จ
    26. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
    27. หลวงพ่อไฝ วัดพันอ้น
    28. หลวงพ่อมุม วัดประสาทเยอรเหนือ
    29. หลวงพ่อชื่น วัดญาณเสน
    30. หลวง พ่อพริ้ง วัดโบสถ์
    31. พระอาจารย์ใหญ่ วัดคูหาสวรรค์
    32. พระใบฎีกาคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    33. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    34. พ่อครูวิมลคุณาทร วัดประสาทนิกร
    35. พระราชญาณเวที วัดขันเงิน
    36. พระครูภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน
    37. หลวงพ่อดำ วัดตุยง
    39. หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง
    40. หลวงพ่อสาลี่ วัดสองพี่น้อง
    41. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
    42. หลวงพ่อนคร วัดเขาอิติ สุคโต
    43. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
    44. หลวงพ่อผ่าง จ.ขอนแก่น
    45. หลวง พ่อธีร์ จ.ขอนแก่น
    46. พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    47. พระมหาโฮง วัดปทุมวนาราม
    48. พระอาจารย์สมพล วัดปทุมคงคา ฯลฯ
    รายนามพระคณาจารย์ ผู้ทรงวิทยามนต์เขตใต้ กรุงเทพมหานคร นั่งปรกปลุกเสก งานมหาพิธีพุทธาภิเษก
    1. พระครูพิพัฒน์วรคุณ วัดพระยาไก
    ร2. พระครูสิริธรรมสุธี วัดไผ่เงิน โชตนาราม
    3. เจ้าอธิการฉ้อย วัดด่าน
    4. พระอาจารย์ถวิล วัดลาดบัวขาว
    5. หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
    วันเสาร์ ที่่ 7 เมษายน 2516 พระพิธีกรรม 4 รูป วัด สุทัศน์เทพวนาราม
    หมายเหตุ : สวดพุทธาภิเษก
    ชุดที่ 2 พระพิธีธรรม 4 รูป วัดสุทัศน์ฯ วัดมหาธาตุ
    หมายเหตุ : สวดทิพยมนต์
    ชุดที่ 3 พระพิธีธรรม 4 รูป วัดราชนัดดา วัดจักรวรรติราชาวาส
    หมายเหตุ : สวดจักรพรรดิราชา
    วันที่ 8 เมษายน 2516 พระพิธีธรรม 4 รูป วัดสุทัศน์เทพวนาราม
    หมายเหตุ : สวดพุทธาภิเษก
    วันที่ 9-10-11 เมษายน 2516 พระพิธีธรรมวันละ 4 รูป วัดชนะสงคราม

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250722_233459.jpg IMG_20250722_233523.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,428
    ค่าพลัง:
    +21,416
    get_auc3_img (30).jpeg

    ดวงตราสวรรค์สำหรับเสริมดวง แก้ปีชง..เข้าพิธีมหาเทวาภิเษกถึง 5 วาระ..พิธีที่1).พิธีมหาเทวาภิเษก ปลุกเสกชนวนมวลสาร ณ.วัดมังกรกมลาวาส ( เล่งเน่ยยี่ ) เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 51.....พิธีที่2).พิธีมหาเทวาภิเษก ไทย , จีน , ศรีลังกา ณ.วัดภาษี (เอกมัย) เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 51.....พิธีที่3 ). พิธีมหาเทวาภิเษก ณ.โบสถ์พระแก้ววังหน้า เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 51.....พิธีที่4). พิธีมหาเทวาภิเษก ปลุกมังกร เปิดปาก เปิดตา ดวงตราสวรรค์ ณ. วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม ( ศาลเจ้าหน่าจาไท้จื้อ ) จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 51.....พิธีที่ 5). พิธีมหาเทวาภิเษก ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 51......เหรียญมังกร ดวงตราสวรรค์ องค์นี้ เป็นเนื้อเงินแท้ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปมังกร ซึ่งเป็นเทพชั้นสูง ตัวแทนแห่งองค์จักรพรรดิ์ มีพลัง อำนาจ บารมี ความมั่งคั่ง....ด้านหลังเหรียญเป็นรูป หยิน หยาง และ ยันต์โป๊ยข่วย ล้อมรอบด้วย 12 นักษัตร ,ซึ่งในรอบปี 12 นักษัตร ผู้ที่เกิดในปีนักษัตรอื่นๆ เมื่อถึงช่วงเวลาประสบเคราะห์ หรือ ดวงปีเกิดชงกับนักษัตรอื่นเมื่อนำเหรียญมังกร พกบูชาติดตัวจะช่วยเกื้อกูล จากร้ายกลายเป็นดี ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง เคลื่อนย้ายดวงอุปสรรค และ เพทภัยอันตรายให้ผ่านพ้นไป หนุนส่งเสริมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในธุรกิจการค้า และ การงาน มีชื่อเสียงกึกก้องเป็นที่รักของคนทั้งปวง มีโชคลาภอุดมสมบูรณ์ และ มากล้นด้วยทรัพย์บริบูรณ์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ดวงตาสวรรค์เนื้อผงมังกรขาว

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250723_002256.jpg IMG_20250723_002319.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,428
    ค่าพลัง:
    +21,416
    get_auc1_img (23).jpeg get_auc3_img (33).jpeg get_auc3_img (31).jpeg get_auc3_img (32).jpeg

    ผ้ายันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าท่านเจ้าคุณศรีประหยัดวัดสุทัศน์เทพวราราม พิธีปี พ.ศ.2496ขนาดโดยประมาณ25cm.X 25cm .พิธีใหญ่เกจิคณาจารย์เดินทางร่วมปลุกเสกจำนวนมากผ้ายันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า จัดสร้างโดยพระครูใบฎีกา ประหยัด ปัญญาธโรเจ้าคณะ 2 ( หรือเจ้าคุณศรี ประหยัด )

    พิธีใหญ่ปลุกเสกหมู่ 4 วัน 3 คืน
    ตั้งแต่ 30 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2496
    เกจิฯรวม 96 รูป อาทิเช่น

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อยู่วัดสระเกศ,
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ นวม วัดอนงคาราม,
    พระญาณโพธิ วัดสุทัศน์,
    หลวงพ่อสิงห์คำ วัดเชียงราย,
    หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ,
    หลวงปู่เหรียญ วัดเทวะสังฆาราม กาญจนบุรี,
    หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี,
    หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ อยุธยา,
    หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี,
    หลวงพ่อผล วัดหนัง,
    หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร,
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,
    หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณฯ,
    หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า ชลบุรี,
    หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ,
    หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง,
    หลวงพ่อกึ๋น วัดดอน ยานนาวา,
    หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิตร,
    หลวงพ่อนอ วัดกลาง อยุธยา,
    หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา,
    หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร,
    หลวงพ่อเล็ก วัดท่าลาด ฉะเชิงเทรา,
    หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี,
    หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ราชบุรี,
    หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา,
    หลวงพ่อแฉ่ง วัดคงคาราม เพชรบุรี,
    หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี,
    พระอาจารย์สา วัดราชนัดดา,
    หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ชลบุรี,
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา,
    หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ,
    หลวงพ่อสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี,
    หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี,
    ฯลฯ

    ในระหว่างพิธีพุทธาภิเษกนั้นเอง พระเกจิฯทั้งหลายก็ได้เห็นนิมิตแสงสีต่างๆอันเป็นมงคลซึ่งรวมไปถึงเห็นสมเด็จพระสังฆราช(แพ) มาร่วมในพิธีด้วย

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสวย

    ให้บูชา 600 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    นอกเวปปิด โอนแล้ว รบกวน แจ้ง ด้วยครับ จะจัดส่ง ตามชื่อที่ อยู่ ที่ให้ ไว้ครับ

    IMG_20250723_140713.jpg IMG_20250723_140651.jpg IMG_20250723_140325.jpg
    IMG_20250723_140307.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2025 at 20:22
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,428
    ค่าพลัง:
    +21,416
    วันนี้จัดส่ง
    1753278747088.jpg 1753278749140.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,428
    ค่าพลัง:
    +21,416
    1753282239968.jpg

    "พระครูพิพิธพัฒนคุณ" หรือ "หลวงพ่อแบน ปุญญังกโร" ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง และเจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์ ต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี พระเกจิชื่อดัง
    มีนามเดิม แบน ตันไชยยะ เกิดวันพุธ ขึ้น 5 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 1 เม.ย.2474 เกิดที่บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 1 ต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
    เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2495 เมื่อเวลา 14.21 น. ที่วัดใหม่นพรัตน์ มีพระครูสุนทรปริยัติกิจ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจาง วัดใหม่อัมพวัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการพวน วัดใหม่นพรัตน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ปีแรกจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่นพรัตน์ ตื่นตี 4 ทุกวัน สวดมนต์นั่งกัมมัฏฐานบำเพ็ญธรรมไม่ขาด มุ่งเน้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง และช่วยเหลือผู้คนโดยไม่ยอมรับผลตอบแทน
    เป็นพระที่ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนพระกัมมัฏฐานและเรียนภิกษุปาฏิโมกข์สำเร็จ ในปี พ.ศ.2495 และเริ่มสวดมาจนถึงปัจจุบัน ประการสำคัญได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2516 ต่อมาได้รับพัดยศพระครูสัญญาบัตรในปี พ.ศ.2518
    หลวงพ่อแบน พูดเสมอว่า "ท่านเป็นพระชาวบ้านไม่ใช่พระนักเทศน์" แต่ปรากฏว่า หลวงพ่อเทศน์ได้ดี ไม่ถึงกับเลิศด้วยโวหารชาญฉมัง แต่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา ท่านเป็นพระที่มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วเมืองสุพรรณบุรีและที่รู้กันไปไกล
    สิ่งที่ทำให้ได้รับความเคารพศรัทธาล้นหลามจากชาวบ้าน คือ กิตติศัพท์ความเข้มขลังด้านวัตถุมงคลที่ท่านสร้างประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง คือ ธรรมะและวัตรปฏิบัติของท่านซึ่งเรียบง่ายธรรมดา เปิดเผยและตรงไปตรงมา
    ด้านวัตถุมงคลที่หลวงพ่อแบนสร้าง ล้วนแล้วแต่เป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก
    ในเรื่องการจัดสร้างวัตถุมงคล บ่อยครั้งที่มีลูกศิษย์และสาธุชนที่เลื่อมใส เข้ามากราบขออนุญาต บอกว่าอยากได้วัตถุมงคลของท่านไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
    ทั้งนี้ วัตถุมงคลของหลวงพ่อขันตีหลายรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรุ่นแรก เหรียญมหาโชค ออกในปี 2520 หรือตะกรุดโทน เป็นต้น
    นอกจากพุทธาคมอักขระเลข ยันต์ ที่ลงตะกรุด ลงธง ลงหนังเสือ ปลุกเสกอักขระทุกประเภทแล้ว หลวงพ่อแบน ยังมีวิชากลั่นยารักษาพิษงูหรือสัตว์มีพิษขบกัด ยาขนานนี้สืบทอดกันมา 100 กว่าปี จากพระอธิการแก้ว จันทสโร เจ้าอาวาสรูปแรก และพระอธิการพวน เจ้าอาวาสรูปที่ 2 วัดใหม่นพรัตน์
    ด้วยมีจิตใจตั้งมั่น ปฏิบัติธรรมตามแนวทางแห่งองค์พระศาสดา ดำเนินชีวิตไปสู่ความถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติส่วนรวม หลวงพ่อแบน เป็นพระนักพัฒนา เวลาใครมาพบท่านก็มักจะให้คำสอนเป็นธรรมะ พร้อมทั้งประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้กำลังใจแก่ทุกคนที่มาหา โดยจะใช้หญ้าคาประพรมน้ำเคาะศีรษะเบาๆ พร้อมให้ศีลให้พร และมักให้คำสอนสั้นๆ ง่ายๆ ในแบบฉบับของท่านด้วยสำเนียงเหน่อ
    ช่วงบั้นปลายชีวิตมีอาการอาพาธบ่อยครั้ง ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ
    จวบจนเช้าของวันอาทิตย์ที่ 12 มี.ค.2560 หลวงพ่อแบน ละสังขารอย่างสงบ ด้วยวัยวุฒิ 86 ปี พรรษา 64
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสงบครับ
    พระครูพิพิธพัฒนคุณ หลวงพ่อแบน ปุญญงกโร
    (หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์แบน)
    วัดใหม่นพรัตน์ ต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
    พระอริยะสงฆ์ผู้เป็นที่เคารพรักของชาวสองพี่น้อง สุพรรณบุรี
    โดย ศุภักษร ลอยสุวรรณ์
    .....หงษ์ทองหนึ่งคู่ ตัวหนึ่งอยู่ ตัวหนึ่งไป ใครคิดได้ เป็นเมตตามหานิยม....
    ปริศนาธรรมจาก..หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์แบน ปุญญงกโร
    ....วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559 นี้ เป็นวันสำคัญของชาวสองพี่น้อง เมืองสุพรรณบุรี ประทีปธรรมปัญญามหบารมีเนื้อนาบุญของชาวสองพี่น้องนามว่า หลวงพ่อแบน พระอุปัชฌาย์แบน พระเถระผู้เจริญชนม์แห่งวัดใหม่นพรัตน์ได้เจริญอายุวัฒน์เข้าสู่85ปีแล้วในวันนี้...
    ...ข่าวการเฉลิมฉลองอายุ85ปีของหลวงพ่อแบนอาจไม่แพร่กระจายกว้างสู่พุทธบริษัทชาวสยามแดนไทยนักแต่สำหรับชาวสองพี่น้องนั้นวันนี้เป็นวันสำคัญของพระเถระที่เขารักและเคารพอย่างยิ่ง....
    หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์แบน หรือ พระครูพิพิธพัฒนคุณ ...หลวงพ่อแบน ปุญญงกโร พระอริยะผู้เฒ่าผู้บริสุทธิ์ ท่านดำรงค์เป็นหลักใจให้ลูกหลานพระภิกษุสามเณรในสถานะที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้องและควบตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์ ต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อีกหนึ่งด้วย ภาพของหลวงพ่อที่คุ้นตาของพี่น้องเลือดสุพรรณ สองพี่น้องทั้งอำเภอ คือ ภาพการให้ธรรมะ โอวาทแก่ผู้ศรัทธา และประพรมน้ำมนต์ให้กำลังใจแก่ทุกคนที่มาหาและก็ไม่ว่ารากดีมีจนอย่างไร หลวงพ่อแบนท่านให้ความเมตตาเสมอเทียบเทียมกันอย่างอบอุ่นใจมาตลอด มากกว่าครึ่งศตวรรษที่หลวงพ่อได้พำนักและพัฒนาวัดใหม่เพชรรัตน์แห่งนี้ หลวงพ่อพูดภาษาชาวบ้านง่ายๆกับผู้คนที่มาหา ผู้คนมักจะเข้าไปกราบขอพร หลวงพ่อท่านจะเอาหญ้าคาพรมน้ำมนต์เคาะศีรษะเบาๆพร้อมให้ศีลให้พรและกำกับคำสอนสั้นๆง่ายๆในแบบฉบับของท่านด้วยสำเนียงเหน่อๆที่ฟังดูแล้วน่ารักและจริงใจ....
    หลวงพ่อแบน ท่านพูดเสมอว่า ท่านเป็นพระชาวบ้านไม่ใช่พระนักเทศน์ หลวงพ่อเทศน์ได้ดีซึ้งกินใจแต่ก็ไม่ถึงกับเลิศด้วยโวหารชาญฉมังแต่ชาวบ้านเชื่อถือเคารพกระทำตามทั้งๆที่ไม่น่าจะมีอะไรโดดเด่นหรือดึงดูดใจได้มากมายแต่ในความเป็นจริงกลับเป็นตรงกันข้าม เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วเมืองสุพรรณบุรีและที่รู้กันไปไกลยังต่างประเทศก็ยังปรากฏ...สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์แบนเป็นพระที่ได้รับความเคารพศรัทธาล้นหลามจากชาวบ้านคือ กิตติศัพท์ความขลังของวัตถุมงคลที่ท่านสร้างประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ ธรรมะและวัตรปฏิบัติของท่านซึ่งเรียบง่ายธรรมดา เปิดเผยและตรงไปตรงมา....หลวงพ่อแบนท่านดำรงวัตรแห่งความเป็นผู้ให้ แม้แต่สมณศักดิ์ใดๆท่านไม่พึงปรารถนาแต่ท่านก็ได้รับด้วยเกียรติคุณดีงามบริสุทธิ์ หลวงพ่ออาจเป็นเพียงพระผู้เฒ่า พูดไม่เฉียบคมแต่ท่านได้สอนเราๆด้วยวัตรปฏิบัติอันง่ายงามและทำให้ดูด้วยตัวท่านเองมาลอดชีวิตของท่าน สิ่งที่หลวงพ่อแบนทำมิใช่เพียงพัฒนาวัดใหม่นพรัตน์จนเจริญด้วยถาวรวัตถุประการเดียวไม่แต่ท่านสอนให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นเปลือก กระพี้ และแก่นธรรมอันล้ำค่า ก็อยู่ที่พวกเราเองว่าจะมองเห็นทะลุเปลือก และกระพี้ภายนอกลงไปให้เห็นธรรมแท้ที่ท่านมอบให้หรือไม่...
    ชาวบ้านชาววัดย่านสองพี่น้องและใกล้เยง รุ้จักคุ้นเคยหลวงพ่อมาตั้งแต่ท่านยังหนุ่มแน่น ท่านได้อุทิศตัวทุ่มเทใจทำงานพัฒนาวัดใหม่นพรัตน์มาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่พ.ศ.2499ที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อสืบสานจากรุ่นบูรพาจารย์ เช่น หลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน...
    “แก้วสารพัดนึก” เป็นสมญานามของหลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดดอนกลาง หรือวัดใหม่นพรัตน์ หลวงพ่อแก้ว เป็นคนบ้านใหญ่สองพี่น้อง ฝึกอบรมในสำนักวัดสองพี่น้องมาก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดใหม่นพรัตน์ ท่านเป็นพระที่ชาวอำเภอสองพี่น้องให้ความเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง ยุคเดียวกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน เคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดว่า “หลวงพ่อแก้วเรียกหลวงพ่อโหน่งว่าหลวงพี่” ท่านเป็นพระหมอรักษาได้สารพัดโรค ที่โด่งดังมากคือโรคพิษสุนัขบ้า สมัยก่อนไม่มีโรงพยาบาลก็ได้หลวงพ่อนี่แหละรักษาให้ จึงได้สมญานามว่า “แก้วสารพัดนึก”
    สมัยที่หลวงพ่อแก้ว สารพัดนึก ท่านมีชีวิตอยู่ได้สร้างวัตถุมงคลไว้สองอย่าง...อย่างแรกเป็นรูปถ่ายติดกระจกสี่เหลี่ยมขนาดห้อยคอ ด้านหน้าเป็นหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระประธานที่หลวงพ่อได้สร้างไว้เป็นอนุสรณ์ จวบจนทุกวันนี้ ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อแก้ว ...สำหรับอย่างที่สองเป็นรูปถ่ายเหมือนกันแต่เป็นรูปไข่ด้านหน้าเป็นหลวงพ่อโตซึ่ง เป็นพระประธานที่หลวงพ่อได้สร้างไว้เป็นอนุสรณ์จวบจนทุกวันนี้ ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อแก้ว หุ้มขอบทองแดงติดแผ่นพลาสติกใสบาง ๆ ทั้งหน้าหลัง น่าจะสร้างประมาณปี 2480 กว่า ๆ ปัจจุบันหายากมาก สำหรับเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแก้วสร้างประมาณปี 2500 นักนิยมพระเครื่องท้องที่เรียกว่า “เหรียญหลวงพ่อโตเล็ก” เพราะด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อโต (พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดใหม่นพรัตน์)องค์ท่านบนเหรียญไม่ทันองค์หลวงพ่อแก้วด้านหน้า เหรียญรุ่นนี้ สร้างโดย พระครูพิพิธพัฒนคุณ (หลวงพ่อแบน) สร้างแล้วว่ากันว่าถึงกับหาบไปให้หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก ปลุกเสก เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากมาย มีความนิยมมากในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาจริงๆ
    วัดใหม่นพรัตน์ ได้สร้างขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2442 โดยมีพระอธิกาแก้ว จันทสโร (หลวงพ่อแก้ว แก้วสารพัดนึก) อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ณ ที่บ้านลาดจระเข้ เพราะในขณะนั้นบริเวณวัดมีลำลาดใหญ่ซึ่งมีจระเข้ชุกชุม ชาวบ้านจงเรียกว่า วัดลาดจระเข้ ต่อมามีการสัญจรไปมา เข้า ออก ไม่สะดวกเท่าที่ควร หลวงพ่อแก้ว จึงได้ย้ายวัดมาตั้งขึ้นใหม่ที่บ้านดอนกลาง ระหว่างบ้านดอนกลางนั้น ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า บ้านดอนไผ่ขี้นก บ้านดอนไผ่ช่องลม บ้านดอนจิกโค้ง บ้านรางทอง เหตุที่วัดตั้งอยู่ระหว่างบ้านดอนกลาง ดังข้างต้นนั้น จึงได้เรียกว่า วัดดอนกลาง หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกขานกันว่า...วัดใหม่นพรัตน์ หรือ วัดดอนกลางใกล้วัดพระใหญ่ ไผ่โรงวัว...พูดแค่นี้ก็ทราบกันว่าคือ วัดใหม่นพรัตน์(วัดดอนกลาง) สองพี่น้อง...และสาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่นพรัตน์ ก็เพื่อเป็นเกียรติแด่หลวงพ่อแก้ว แก้วสารพัดนึก ผู้สร้างวัด ซ่งชื่อวัดมีความหมายเป็นมงคลว่า วัดแก้วเก้าประการ..ได้จัดสร้างโบสถ์ขึ้นมาหนึ่งหลังเมื่อปี2453 และในปีพศ.2462 ได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ทรงมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง5วา สูง9วา ได้ถวายนามว่า พระโลกเชษฐมหามณีรัตนปฏิมากร ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า หลวงพ่อโต ที่ศักดิ์สิทธิ์ นับว่า..วัดใหม่นพรัตน์เป็นวัดที่มีอายุเกินร้อยปี
    ชีวิตของมนุษย์ช่างเต็มไปด้วยความลึกลับชวนอัศจรรย์ เส้นทางชีวิตของคนแต่ละคนหาใช่เส้นตรงที่ลากจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งเหมือนเส้นในวิชาเรขาคณิต ชีวิตไม่มีสูตรสำเร็จและคำตอบอันเบ็ดเสร็จอยู่ในตัว หากแต่เต็มไปด้วยความยอกย้อนเอาแน่เอานอนไม่ได้ บางคนเรียกว่า พรหมลิขิต บางคนเรียกว่า บุญนำกรรมแต่ง แต่มันจะเป็นอะไรก็ตามเถิด แต่นี่แหละชีวิตเช่นเดียวกัน เมื่อผมผู้เขียนได้สนทนาธรรมกับพระครูสมุห์กิติศักด์ ยโสธโรหรือพระอาจารย์แกละศิษย์เอกของหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์แบน เจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์รูปปัจจุบัน(หลวงพ่อแบนท่านมอบหมายตำแหน่งเจ้าอาวาสให้พระอาจารย์แกละดูแลปกครองแทน) เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติของหลวงพ่อ ผมก็ได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้...ว่า ชีวิตคนเรานั้นไม่แน่นอนและชีวิตของนักบุญพระอริยะลูกคนจีนอย่างหลวงพ่อแบนก็น่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับผู้ต้องการเดินมาเส้นทางธรรมอย่างบริสุทธิ์
    ... พระครูพิพิธพัฒนคุณ หลวงพ่อแบน ปุญญงกโร สิริอายุ85ปี 64พรรษา วิทยฐานะ นักธรรมเอก เดิมท่านชื่อ แบน นามสกุล ตันไชยยะ เกิดวันพุธ ขึ้น5ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่1เมษายน พ.ศ.2474 บิดาชื่อ นายลุ้ย แซ่ตัน มารดาชื่อนางวอน แซ่ตัน หลวงพ่อเกิดที่บ้านดอนกลาง หมู่ที่1ตำบลเนินมะปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม10คน ท่านเป็นคนที่ 5
    หลวงพ่อแบน อุปสมบทเมื่อวันที่20พฤษภาคม พ.ศ.2495เมื่อเวลา 14.21 นาฬิกา ณ วัดใหม่นพรัตน์ โดมีพระครูสุนทรปริยัติกิจ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือ หลวงพ่อจาง วัดใหม่อัมพวัน พระอนุสาวนาจารย์ คือ พระอธิการพวน วัดใหม่นพรัตน์ ณ พัทธสีมา วัดใหม่นพรัตน์ ขณะอุปสมบทมีการประชุมสงฆ์ 19 รูป หลวงพ่อแบนเป็นพระที่ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานและเรียนภิกษุปาฏิโมกข์สำเร็จในพ.ศ.2495และเริ่มสวดมาจนถึงปัจจุบัน ประการสำคัญได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ในพ.ศ.2516 ต่อมาได้รับพัดยศพระครูสัญญาบัตรในพ.ศ.2518
    ปีแรกของชีวิตสมณะในฐานะพระหนุ่มของหลวงพ่อแบน ก็ได้จำพรรษา ณ วัดใหม่นพรัตน์ แห่งนี้นี่เอง ถือได้ว่าท่านเป็นคนที่นี่ เป็นพระที่นี่ ...
    หลวงพ่อท่านเป็นพระมักน้อยถือสันโดษ ท่านตื่นตี 4 ทุกวัน สวดมนต์นั่งกรรมฐานบำเพ็ญธรรมไม่ขาดสติ ท่านเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติพุทธกิจเพื่อศาสนาอย่างแท้จริง มีความสมถะ ในกุฏิของท่านไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ปฏิปทาของท่านคือ มุ่งเน้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง และช่วยเหลือผู้คนโดยไม่ยอมรับผลตอบแทนใดๆ ความมีพุทธาคมเข้มขลังของท่านใช้ช่วยเหลือผู้คนไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ ทั้งด้านการลงยันต์ เพื่อความคงกระพันชาตรี หรือน้ำมนต์ซึ่งมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มากแล้ว นอกจากนี้วัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านสร้างเพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนที่มานมัสการก็ทรงไว้ซึ่งพุทธาคมและความเข้มขลังครบเครื่องเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี จนเป็นที่เลื่องลือกล่าวขานกันปากต่อปาก
    เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อแบน ชื่อเหรียญ มหาโชค ออกในปี2520 เป็นเหรียญยอดนิยมของชาวสองพี่น้องที่เป็นมงคลน่าสะสมมาก...วัตถุมงคลเป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อแบนมากที่สุดเป็นปัจจัยให้สาธุชนเดินทางมากราบท่าน ตะกรุดโทน ถือว่าเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อลือชาทางคงกระพันชาตรีและมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขณะที่จารและม้วนหลวงพ่อแบนท่านจะบริกรรมคาถาอย่างเข้มขลัง ว่างจากกิจเมื่อไรหลวงพ่อจะมานั่งจารตะกรุดโทนด้วยตัวท่านเอง มีประสบการณ์คุ้มครองชีวิตมามากนับไม่ถ้วนทั่ว...
    นอกจากพุทธาคมอักขระเลขยันต์ที่ลงตะกรุด ลงธง ลงหนังเสือ ปลุกเสกอักขระทุกประเภทแล้วหลวงพ่อแบนท่านยังมีวิชากลั่นยารักษาพิษงูหรือสัตว์มีพิษขบกัด...ยาขนานนี้สืบทอดกันมา100กว่าปีแล้วใครถูกงูกัดในแถวย่านบ้านนี้จะมารักษากันที่วัดโดยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาลเลยเป็นยาขนานเอกที่สืบทอดจนมาถึงปัจจุบันนี้...
    ที่นำเสนอมานี้อยากให้ท่านผู้อ่านที่รักได้สัมผัสหลวงพ่อแบนท่านในฐานะสมณะผู้งดงามในศีล หลวงพ่อเองบวชมานานแสนนานแต่ก็พยายามฆ่าสามสิ่งนี้เสมอ ยังฆ่าอยู่ทุกวันคือ โลภะ โทสะ โมหะ หลวงพ่อบอกว่า เผลอเมื่อไร เจ้าวายร้ายสามตัวนี้ก็คอยทำร้ายเสมอ ส่วนในเรื่องอภินิหารของวัตถุมงคลนั้นขอให้เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ท่านที่รักต้องมาสัมผัสเอง...
    ขอขอบคุณ พระสมุห์กิติศักดิ์ ยโสธโร(อาจารย์แกละ) เจ้าอาวาสวัดใหมรูปปัจจุบัน และหลวงพ่อประดิษฐ์ สันติกโร ศิษย์หลวงปู่ผลวัดดักคะนน
    ชัยนาท ที่เมตตาข้อมูลเพื่อมวลชนชาวพุทธได้กราบพระอริยะดีศรีสุพรรณ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250723_214641.jpg

    IMG_20250723_214708.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,428
    ค่าพลัง:
    +21,416
    เหรียญหลวงปู่ทวดหลังปางธุดงค์ พ.ศ.2551 เนื้อทองแดง
    วัดแคราชานุวาส จ.พระนครศรีอยุธยา


    วัดแคตั้งอยู่บริเวณเกาะลอยริมแม่นำแควป่าสัก ชานเมืองกรุงศรีอยุธยา ตามประหลักฐานไม่ปรากฏชัด แต่สันนิฐานว่า วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะพระพุทธรูปที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบศิลาสีขาว ศิลาสีเขียว และศิลาทราย มีเป็นจำนวนมาก แตไม่สมบูรณ์ จากคำบอกเล่าของท่านผู้เฒ่า อายุ 95 ปี มีบ้านอยู่ใกล้เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2500 มีพวกมิจฉาชีพได้ลักพาพระศิลาสีเขียว พระศิลาสีขาวไปหมด คงเหลือแต่พระสิลาทรายที่ชำรุดไว้ หลักฐานที่อยู่คือแผ่นอิฐใหญ่ ๆ คล้าย ๆ แผ่นอิฐกลางเมือง และฐานวิหารเก่า ส่วนฐานวิหารนั้น ท่านปลัดวัฒนา กันตามระ ได้สืบเอาประวัติมาว่า เป็นวิหารของหลวงปู่ทวด เหยียบนำทะเลจืด ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต้องการหาพระผู้เรืองวิชา เพื่อมาช่วยแก้ปัญหา ตามประวัตินั้น ซึ่งมีชาวเมืองอื่นมาท้าพนัน ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้จะเสียพระนคร พระราชาจึงสั่งให้นายนักการทั้งหลายสืบหาดูพระผู้เรืองวิชา ปรากฏว่ามีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด นครศรีธรรมราช เมื่อพระราชาทรงทราบจึงรับสั่งให้นิมนต์เข้ามาในพระนคร ทรงบอกเรื่องทั้งหมดให้ทราบ ปรากฏว่าอักขระทั้งหมดหลวงปู่แก้ได้ทั้งหมด และที่หายไปก็ยังรู้ เมื่อพระองค์ทราบว่าแก้ปัญหาได้ชนะพระองค์ทรงดีพระทัย มีพระดำรัสให้ครองพระนครกึ่งหนึ่ง และถวายทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง แต่หลวงปู่ทวดไม่ยอมรับ เพียงแต่ขอเพื่อพักอาศัยการปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ชานเมือง พระองค์จึงให้สร้างวัดขึ้นใหม่ ให้นามว่า "วัดราชานุวาส" แปลว่าเป็นที่อยู่ของพระราชาองค์น้อย ถวายแด่หลวงปู่ทวด และทรงตั้งฐานันดรศักดิ์ "เป็นสมเด็จพะโค๊ะ" ต่อมาอยุธยาใกล้จะเสียกรุง พม่าได้ยกทัพใหญ่มาตั้งที่โพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน แล้วจึงสั่งทัพหน้ามาตั้งอยู่ที่บริเวณวัดมณฑป, วัดแค ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองด้านตะวันออก เพราะสะภาพของเมืองมีแม่นำล้อมรอบ พม่าจึงทำสะพานเชือกข้ามครองไปสู่เมืองหลวง

    จึงสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ วัดนี้คงเป็นพระอารามหลวง คงร่วงโรยมาเป็นลำดับ หรืออาจจะเป็นวัดร้างมาสมัยหนึ่งปัจจุบันวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก มีเจ้าอาวาสปกครองมาเป็นลำดับ จนถึงเจ้าอธิการเพิ่ม ฐิติญาโณ เจ้าคณะหมวด ในสมัยนั้นเป็นเจ้าอาวาส เป็นพระเถรนักปฏิบัติ ต่อมาปฏิบัติไม่สำเร็จ ท่านจึงเล่นแร่แปลธาตุ ปรากฏว่าท่านทำพระของ่ทานไว้มากมาย เป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่อง แม้เหรียญของก็ยังมีการประกวดอยู่มีราคาสูงพอสมควร ช่วงนี้จึงไม่การบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ทางการคณะสงฆ์ จึงส่งพระมหาระหงษ์ มาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว จึงเริ่มการก่อสร้าง การบูรรณะปฏิสังขรณ์ รวมทั้งการศึกษาฝ่ายบาลี-นักธรรมขึ้นจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเจ้าอาวาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าวาสุกรีเขต 2 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอดุลวิริยกิจ" และดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ประจำตำบล ฯ ได้สร้างกุฏิทั้งหมด 17 หลังศาลาการเปรียญ 1 หลังมีพระสงฆ์-สามเณรอยู่จำพรรษา 25 รูป ศิษย์วัด 12 คน ชี 4 คน ปัจจุบันดำริห์จะสร้างเมรุปูนถาวร และจะปฏิสังขรณ์อุโบสถ แต่ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์ในการนี้ จึงใคร่ขอความอุปถัมภ์จากท่านสาธุชนโยทั่วไป

    a.jpg

    เกจิพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ :

    1.พระเทพวรเมที วัดบรมวงศ์อิศรวราราม
    2.หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    3.หลวงพ่อแวว วัดพนัญเชิงวรหาร
    4.หลวงพ่อเสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์
    5.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    6.หลวงพ่อเล็ก วัดวรนายกรังสรรค์ฯ
    7.หลวงพ่อเชิต วัดกษัตราธิราช
    8.หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    9.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    10.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    11.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม
    12.หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์
    13.หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    14.หลวงพ่อพูล วัดบ้านแพน
    15.หลวงพ่อมหาสมคิด วัดมเหยงค์
    16.หลวงพ่อจั้ว วัดตูม
    17.หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดหน้าพระเมรุ
    18.หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง

    a.jpg a.jpg a.jpg a.jpg a.jpg a.jpg a.jpg a.jpg

    ...พระคาถาหลวงปู่...
    "นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา"

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่ว่าอย่างสูงครับ

    ให้บูชา ๒ เหรียญคู่กัน 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250723_224048.jpg IMG_20250723_224111.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...